เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [5. ปัญจมวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
สก. พระสาวกเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ให้กำเนิดแก่มรรคที่ยังไม่
มีผู้ให้กำเนิด เป็นผู้บอกมรรคที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้รู้มรรค เข้าใจมรรค ฉลาดใน
มรรคใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[444] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสาวกมีผลญาณ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสาวกเป็นผู้ไม่มีญาณใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น พระสาวกจึงมีผลญาณ ฯลฯ
ผลญาณกถา จบ
ปัญจมวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

1. วิมุตติกถา 2. อเสกขญาณกถา
3. วิปรีตกถา 4. นิยามกถา
5. ปฏิสัมภิทากถา 6. สมมติญาณกถา
7. จิตตารัมมณกถา 8. อนาคตญาณกถา
9. ปัจจุปปันนญาณกถา 10. ผลญาณกถา

มหาปัณณาสก์ จบ

รวมวรรคที่มีในมหาปัณณาสก์นี้ คือ
วรรคที่ 1 เริ่มด้วยปุคคลกถา
วรรคที่ 2 เริ่มด้วยปรูปหารกถา
วรรคที่ 3 เริ่มด้วยพลกถา
วรรคที่ 4 เริ่มด้วยคิหิสสอรหาติกถา
วรรคที่ 5 เริ่มด้วยวิมุตติกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :472 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 1. นิยามกถา (53)
6. ฉัฏฐวรรค
1. นิยามกถา (53)
ว่าด้วยนิยาม
[445] สก. นิยาม1เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. นิยามเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย
เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิยามเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรมที่
ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี 2 อย่าง ที่เร้นมี 2 อย่าง ที่พึ่งมี 2 อย่าง ที่หมาย
มี 2 อย่าง ที่มั่นมี 2 อย่าง อมตะมี 2 อย่าง นิพพานมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิพพานมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 นิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. 445-447/216)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 445-447/216)
3 เพราะมีความเห็นว่า นิยามเป็นของเที่ยง ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า นิยามเป็นสภาวธรรม
ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง (อภิ.ปญฺจ.อ. 445-447/216)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :473 }